ประวัติของห้องสมุด
ห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจัดตั้งเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 ณ บริเวณชั้น 2 ของตึกสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและต่อมาสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้ให้งานห้องสมุดมาอยู่ในสังกัดสำนักบริหารกลาง เปลี่ยนชื่อเป็น "กลุ่มประชาสัมพันธ์และบริการห้องสมุด" ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2552
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นแหล่งรวมข้อมูลสารสนเทศของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลสารสนเทศทางด้านอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ
- เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมผลงานวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมรายสาขาต่างๆ
- เพื่อให้บริการแก่บุคคลภายในสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมบุคคลภายนอกและผู้ที่สนใจ
- เพื่อเป็นแหล่งพบปะแลกเปลี่ยนความรู้สำหรับบุคคลภายในสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
ระบบการจัดหมวดหมู่ของห้องสมุดสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
มี 3 ระบบ ดังนี้
1. ระบบทศนิยมแบบดิวอี้ จะแยกหมวดหมู่ ดังนี้
- 000 ความรู้ทั่วไป
- 100 ปรัชญา
- 200 ศาสนา
- 300 สังคมศาสตร์
- 400 ภาษา
- 500 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และคณิตศาสตร์
- 600 เทคโนโลยี (วิทยาศาสตร์ประยุกต์)
- 700 ศิลปะ วิจิตรศิลป์ และมัณฑนศิลป์
- 800 วรรณคดี
- 900 ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
2. ระบบที่จัดทำขึ้นเอง มีทั้งหมด 10 อุตสาหกรรม ดังนี้
- 000 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
- 100 อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร แร่
- 200 อุตสาหกรรมการเกษตรและการแปรรูป
- 300 อุตสาหกรรมสัตว์
- 400 อุตสาหกรรมเซรามิกส์ แก้ว พลาสติก ไม้แปรรูป และของเล่น
- 500 อุตสาหกรรมรองเท้า เครื่องหนัง อัญมณี และสิ่งทอ
- 600 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
- 700 อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
- 800 ดัชนีอุตสาหกรรม, ภาวะอุตสาหกรรม, สถิติอุตสาหกรรม
- 900 อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
2.1 หมวดหมู่ DP คือหนังสือที่หน่วยงานต่างๆได้จัดส่งมาให้ อาทิเช่น สำนักงานสถิติ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
3. ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือ OIE คืองานวิจัย ที่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้จัดทำร่วมกับที่ปรึกษา บริษัทหรือ สถาบันต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้
- 3.1 แผนแม่บทอุตสาหกรรมรายสาขา
- 3.2 แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
- 3.3 ขีดความสามารถในการแข่งขัน
- 3.4 โครงการศึกษาและการวิจัยอุตสาหกรรม
และยังมีหมวดหมู่อื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบในการสืบค้น ดังนี้
- PL = แผนงาน
- PO = นโยบาย, วิสัยทัศน์, กฎ, ประเทศ
- LT = ทำเนียบ, รายนาม
- IN = เขตอุตสาหกรรมภาคต่างๆ เป็นต้น
- ST = สถิติ
- UA = พิกัดอัตราภาษีศุลกากร, เอกสารสิ่งแวดล้อม, SMEs
- TA = กระทรวงอุตสาหกรรม รายงานประจำ และสถาปนา, แผนยุทธศาสตร์ และผลงานกระทรวงอุตสาหกรรม